วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

คำนำ

คำนำ
บทละครเรื่องสังข์ทองนี้  เป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ
ในการศึกษา  มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
มีลักษณะของละครนอก  มีตัวละครที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเกาะ
ซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นที่นิยม

จึงมีก่รนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม

อ้างอิง

อ้างอิง
.             Jump up หน้า 108, แฟนหอยพันธุ์แท้ โดย จอม ปัทมคันธิน (นนทบุรี2555ISBN 978-616904682-0


วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รูปภาพ

https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRsP1l7AMkV_YNhNWCz9UaV5Fux-2RQVEtRBDOfBYzkaS6QdMnuRu_X0l2a                         https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQWTzPL4aaSrAPXH1F2z_SWV3wRN9BayLyCAnMsUaa-bxrVdwgguzlAq4_q
      สังข์ทอง                              รจนา                                                   พระสังข์

                                                 


         เกาะป่า                                             แม่ของพระสังข์

ผลที่ได้รับจากเรื่องสังข์ทอง

ผลที่ได้รับจากเรื่องสังข์ทอง

สังข์ทองเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านอิงคติพุทธบริสุทธิ์มากกว่าพระสุธน-มโนห์รา ซึ่งถือคติตามแบบรามายณะ เราจะพบว่า สังข์ทองเน้นให้เห็นถึงการผสมผสานของจิตที่มีธาตุรู้อยู่แล้ว และประสบการณ์เผชิญหน้ากับความทุกข์ที่จะพัฒนาเป็นโลกุตรญญา

ประวัติของเรื่องสังข์ทอง

หลังจากที่กรุงศรอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาและทรงพยายามฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อที่จะให้เกิดความเจริญเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น การฟื้นฟูปรับปรุงวรรณกรรมและการละครโดยยึดเอาวรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ยังเหลืออยู่บางส่วนเป็นหลัก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงกระทำงานนี้ต่อด้วยความมุงหมายเช่นเดียวกัน พระองค์ทรงย้ายพระนครหลวงมาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ปรับปรุงการปกครอง วรรณกรรม การละคร ศาสนาและศิลปะ
          เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงขึ้นครองราชย์ ก็ได้ส่งเสริมการฟื้นฟูและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่อจากสมเด็จพระบิดาจนกระทั่งได้รับยกย่องว่า ในรัชสมัยของพระองค์นั้นเป็นยุคทองของวรรณคดีและยุคทองของการละครด้วย ประกอบกับการทำสงครามกับพม่าก็มีน้อยลง พระองค์จึงมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้ชาติบ้านเมืองอย่างเต็มที่ พระองค์ทรงฟื้นฟูและปรับปรุงศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การดนตรี วรรณคดีและการละคร สำหรับด้านวรรณคดีและการละครนั้นนับว่ามีความรุ่งเรืองมาก
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกวีผู้มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการแต่งกาพย์กลอนและทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การกวี พระองค์ทรงทำนุบำรุงวรรณคดีและการละครอย่างเต็มที่ ดังที่ปรากฏในพระราชกรณียกิจว่า "เวลาบ่ายห้าโมงเสด็จออกฟังรายงานบ้าง ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์บ้าง อิเหนาบ้าง... พอย่ำยามก็เสด็จทอดพระเนตรละคร" (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ๒๕๐๔ : ๒๐๓)
          ในการพระราชนิพนธ์วรรณคดีนั้น พระองค์ทรงเลือกเจ้านายข้าราชการที่เป็นกวีชำนาญกลอนไว้เป็นที่ปรึกษา ประมาณ ๖-๗ ท่าน อาจทรงพระราชนิพนธ์เองหรือระราชทานให้กวีที่ปรึกษารับตัดตอนไปแต่ง จากนั้นนำมาอ่านในที่ประชุมและช่วยกันแก้ไขอีกชั้นหนึ่ง พระองค์คงจะทรงพระราชนิพนธ์บทละครใน ๒ เรื่อง คือเรื่องรามเกียรติ์และอิเหนาไปในเวลาเดียวกัน เนื่องจากอิเหนาเป็นเรื่องยาวซึ่งกินเวลามาก ส่วนรามเกียรติ์นั้นเป็นการตัดตอนมาแต่งเพื่อใช้เล่นละคร เข้าใจว่าทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์และอิเหนาประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๗ - พ.ศ. ๒๓๖๑ หรืออาจจะถึง พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วจึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอก ๕ เรื่อง เป็นลำดับต่อมา (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ ๒๕๓๘ : ๓๙)
          พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสภาหรือบทละคร มีข้อสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า เวลาที่ทรงเรื่องใดถ้ามีบทเดิมอยู่จะทรงเอาบทเดิมมาตรวจตราก่อน ถ้าความในบทเดิมดีอยู่แล้วเป็นไม่ทรงทิ้งเสียเลยหรือถ้าทรงปรับปรุงให้ไพเราะขึ้นได้ก็จะอาศัยความในบทเดิมนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงรวบรวมวรรณคดีเก่าและทรงนำวรรณคดีสำคัญๆ มาชำระ ปรับปรุงหรือแต่งใหม่ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงมีโอกาสที่จะนำต้นฉบับวรรณคดีเหล่านั้นมาพิจารณาปรับปรุงให้มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ยิ่งขึ้น ประกอบกับบ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยจึงมีการฟื้นฟูและทำนุบำรุงการละเล่นหลายอย่าง
          การละเล่นที่นับว่าสำคัญและเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ การขับเสภาและการละครอันมีส่วนช่วยให้เกิดวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าล้นเหลือสุดที่จะประมาณได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละครซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดสืบมาจนถึง
สมัยปัจจุบัน


เรื่องย่อสังข์ทอง

เรื่องย่อ
ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง
อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวี จึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง
นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายชาวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย
ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศวิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์
วันหนึ่ง นางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง(รองเท้าทองนั้นเอง) ไม้พลอง และพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ เมื่อพระสังข์พบเข้ากับโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการกระโดดลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป
เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไป ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์ก็ไม่ยอม นางพันธุรัตจึงเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน ก่อนที่นางจะอกแตกตาย ซึ่งพระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป
พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่ง ท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั้ง 6 ต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั้งสิ้น เว้นแต่นางรจนาที่มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครอง ท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคนเดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์ อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้าง อันเป็นสัญญาณว่ามีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อน จึงส่องทิพยเนตรลงไปพบเหตุการณ์ในเมืองสามล จึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมืองสามล ท้าให้ท้าวสามลออกมาแข่งตีคลีกับพระองค์ หากท้าวสามลแพ้ พระองค์จะยึดเมืองสามลเสีย
ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกับพระอินทร์ แต่ก็แพ้ไม่เป็นท่า จึงจำต้องเรียกเจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลี ซึ่งนางรจนาได้ขอร้องให้สามีช่วยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลี เจ้าเงาะถูกขอร้องจนใจอ่อน และยอมถอดรูปเงาะมาช่วยเมืองสามลตีคลีจนชนะในที่สุด
หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล และเปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวี พร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์มาอยู่ด้วยกันดังเดิม ท้าวยศวิมลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจันท์เทวีกลับมา และพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์
ท้าวยศวิมลและพระนางจันท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวัง โดยท้าวยศวิมลเข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า ส่วนพระนางจันท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว และในวันหนึ่ง พระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์ โดยพระนางจันท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้นเป็นเรื่องราวของพระสังข์ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้พระสังข์รู้ว่าพระมารดาตามมาแล้ว จึงมาที่ห้องครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง

หลังจากนั้น ท้าวยศวิมล พระนางจันท์เทวี พระสังข์กับนางรจนาได้เดินทางกลับเมืองยศวิมล ท้าวยศวิมลได้สั่งประหารพระนางจันทาเทวี และสละราชสมบัติให้พระสังข์ได้ครองราชย์สืบต่อมา

เนื้อเรื่องสังข์ทอง

มาพบเรื่องย่อของสังข์ทองกันเถอะWink
   ณ เมืองยศวิมลนคร อันมีท้าวยศวิมลเป็นเจ้าเมือง พระมเหสีจันเทวีได้คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์ จึงถูกพระนางจันทา มเหสีรอง ใส่ร้ายว่าเป็นกาลีบ้านเมือง จนถูกขับออกจากเมืองไปอยู่กระท่อมตายายที่ชายป่า จนกระทั่งพระสังข์ที่ซ่อนอยู่ในหอย ได้ออกมาพบแม่ สร้างความยินดีกับพระนางจันเทวีมาก

          ข่าวล่วงรู้ไปถึงนางจันทา จึงได้ส่งคนมาจับพระสังข์ไปถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์พญานาคราชช่วยเอาไว้ และส่งให้ไปอยู่กับ นางพันธุรัต พระสังข์รู้ว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์จึงขโมยรูปเงาะ ไม้เท้า เกือกแก้ว เหาะหนีมาอยู่บนเขา นางพันธุรัตตามมาทันแต่ ไม่สามารถขึ้นไปหาพระสังข์ได้ จึงได้มอบมนต์มหาจินดา เรียกเนื้อเรียกปลาให้แก่พระสังข์ก่อนที่จะอกแตกสิ้นใจตายที่เชิงเขา นั่นเอง

          พระสังข์เหาะมาจนถึงเมืองสามล ท้าวสามลและนางมณฑากำลังจัดพิธีเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด แต่รจนาพระธิดาองค์สุดท้อง ไม่ยอมเลือกใครเป็นคู่ ท้าวสามลจึงให้คนไปตามเจ้าเงาะมาให้เลือก รจนาเห็นรูปทองที่ซ่อนอยู่ในรูปเงาะจึงเสี่ยงมาลัยไปให้ สร้างความพิโรธให้ท้าวสามาลจึงถึงกับขับไล่รจนาให้ไปอยู่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ

          ท้าวสามลหาทางแกล้งเจ้าเงาะ โดยการให้ไปหาเนื้อหาปลาแข่งกับเขยทั้งหก เจ้าเงาะให้มนต์ที่นางพันธุรัตให้ไว้เรียกเนื้อ เรียกปลามารวมกันทำให้หกเขยหาปลาไม่ได้ จึงต้องยอมตัดปลายหูและปลายจมูกแลกกับเนื้อและปลา

          ท้าวสามลพิโรธมากจนถึงกับคิดหาทางประหารเจ้าเงาะ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องหาทางช่วยโดยการลงมาท้าตีคลีชิงเมือง กับท้าวสามล ท้าวสามลส่งหกเขยไปสู้ก็สู้ไม่ได้ จึงต้องยอมให้เจ้าเงาะไปสู้แทน เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์และสู้กับพระอินทร์ จนชนะ ท้าวสามลจึงยอมรับพระสังข์กลับเข้าเมืองและจัดพิธีอภิเษกให้

         พระอินทร์ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล เพื่อบอกเรื่องราวทั้งหมด ท้าวยศวิมลจึงออกตามหาพระนางจันเทวีจนพบ และได้เดินทาน ไปเมืองสามลนครเพื่อพบพระสังข์ โดยพระนางจันเทวีได้ปลอมเป็นแม่ครัวในวังและได้แกะสลักเรื่องราวทั้งหมดบนชิ้นฟัก ให้พระสังข์เสวย ทำให้พระสังข์รู้ว่าแม่ครัวคือพระมารดานั่นเอง พระสังข์และรจนาจึงได้เสด็จตามท้าวยศวิมลและพระนาง จันเทวีกลับไปครองเมืองยศวิมลสืบไปCool